วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ    1.cpu เป็นเหมือนสมอง ส่วนที่ใช้คิด
           2.harddisk,ฮาร์ดดิส เป็นสมองเหมือนกัน มีหน้าที่บันทึกข้อมูล
           3.แรม ก็เป็นสมอง คล้ายๆ สมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) 
           4.มือ = ปริ๊นเตอร์
           5.หน้า = มอนิเตอร์
           6.ตา = กล้อง
2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย
ตอบ   1.หุ่นยนต์คงทำงานแทนคนไม่ได้ทุกอย่างหรอกครับ
          2.หุ่นยนต์อาจจะทำอาหารไม่อร่อยเท่าเรา
          3.เลี้ยงเด็กๆ แทนแม่ ได้ไม่ดีเท่าแม่ ให้ความอบอุ่นไม่ได้
          4.หุ่นยนต์ทำสินค้า handmade ไม่ได้
         5. สร้างงานศิลปะไม่ได้ (ถ้าได้คงไม่เรียก handmade หรอก คงเรียกสินค้าอุตสาหกรรม เพราะมัน  คง     เหมือนๆ กันหมด)
         6.หุ่นยนต์เป็นคนรักให้เราก็ไม่ได้
          7.หุ่นยนต์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าทุกอย่างไม่ได้ ไม่มีไหวพริบล้านแปดเหมือนมนุษย์เรา
           ไม่ได้ฉลาดเท่าคน
         8.สุดท้าย ก็ต้องพึ่งคนอยู่ดี เพราะคนเป็นคนที่ทำให้หุ่นยนต์เกิดมานี่คะ
        ถ้าในอนาคตหุ่นยนต์ทำงานแทนคนได้ คนก็ต้องพัฒนาหุ่นยนต์ต่อไป หรือไม่ก็แสวงหาความสุขที่      ออกห่างจากโลกเทคโนโลยีมากขึ้น หาความสุขทางสุนทรียภาพ ธรรมชาติฯลฯ

          
          
       

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้การเก็บข้อมูล

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)
       Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง    เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
 ส่วนประกอบของ Hard Disk  ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
       Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB

2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
        Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
      วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ  PIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment
                 โหมด DMA  (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็ว   
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
        Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSI มีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
4. แบบ Serial ATA
                เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
       ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk  ลงได้  ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง  สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
                                                        cd-r                                                                                           ความหมายของ CD- R        CD - R ย่อมากจาก compact disk recordable เป็นซีดีที่สามารถเขียนข้อมูล หรือ writeข้อมูลได้เพียงอย่างเดียวและสามารถอ่านข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ไม่สามารถลบ (erase) ข้อมูลใน CD - R ได้ มาตรฐานของแผ่นหากมีความจุนับเป็นช่วงเวลา ประมาณ 74 นาที มาตรฐานความจุข้อมูลประมาณ 650 MB (โดยมาตรฐานแล้วความจุที่แท้จริงขึ้นอยู่กับแผ่นซีดี)การเขียนข้อมูล ไดร์ฟ CD - R นี้แตกต่างจากเครื่องเล่น CD ทั่วไป มีความสามารถทั้งในการเขียนและอ่านแผ่นซีดีโดยทั่วไปมาตรฐานของแผ่นซีดีเกือบทุกชนิดโดยความเร็วในการเขียนจะต่ำกว่าความเร็วในการอ่านมากพอสมควร ตัวอย่างเช่น ไดร์ฟรุ่นหนึ่งถูกระบุว่า 8 x 4 x32ความหมายคือ สามารถเขียนแผ่น CD - R ได้ในความเร็ว 8 x เขียนและลบข้อมูล CD -RW ได้ที่ความเร็ว 4 x และอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้ที่ความเร็ว 32 x จากการเขียนข้อมูลแผ่น CD - R นั้นจะต้องไม่มีสิ่งใดมาขัดจังหวะในการไหลของข้อมูลไปสู้ไดร์ฟไม่ว่าการขัดจังหวะนั้นมาจากส่วนใด เนื่องจากตัวยิงแสงเลเซอร์ที่อยู่ในไดร์ฟ CD - R นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ขณะที่มีการเขียนข้อมูล
     เหตุผลที่ไม่สามรถเขียนข้อมูลซ้ำลงบนแผ่น CD - R ได้ เพราะว่าเริ่มจาก แผ่น CD - R ว่างเปล่าเมื่อโดนแสงเลเซอร์ที่มีความเข้มเป็นพิเศษส่องแสงไปถึง แผ่น CD - R จะถูกทำให้ร้อนอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนสภาพเป็นส่วนประกอบทางเคมี เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นกระบวนการทางเคมี พื้นที่ที่ถูกความร้อนหรือ burned จะสะท้อนแสงได้น้อยกว่าพื้นที่ซึ่งไม่มีแสงเลเซอร์ส่องไปถึง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพโดยกระบวนการความร้อนและทางเคมี การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้
                                                                       วีซีดี


วีซีดี ในบทความนี้กล่าวถึงลักษณะของรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลและแผ่นซีดี สำหรับที่หมายถึงภาพยนตร์วีซีดี ดูที่ หนังแผ่น

ตัวอย่างแผ่นวีซีดี
วีซีดี หรือ วีดีโอซีดี (VCD หรือ Video CD) เป็นรูปแบบมาตรฐานในการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวลงในแผ่นซีดี รูปลักษณ์ของแผ่นวีซีดีเหมือนกับแผ่นซีดี สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เครื่องเล่นดีวีดี (DVD) เป็นต้น รูปแบบวีซีดีมาตรฐานถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดย บริษัทโซนี่ บริษัทฟิลิปส์ บริษัทมัทซูชิตะ และ บริษัทเจวีซี ซึ่งได้อ้างอิงไว้ในหนังสือชื่อ ไวต์บุ๊ก (White Book)
ธุรกิจวีซีดีเจริญรุ่งเรืองมากในแถบเอเชีย เพราะว่าเครื่องเล่นนั้นมีราคาถูก

           คุณสมบัติเฉพาะ

ซีดี
วีซีดีความละเอียดในการแสดงผลอยู่ที่ 352 x 240 พิกเซล ในแบบ NTSC หรือ 352 x 288 พิกเซล ในแบบ PAL ซึ่งประมาณหนึ่งในสี่ส่วนของการนำเสนอทางโทรทัศน์ ซึ่งความละเอียดในการแสดงผลอยู่ที่ 720x480 พิกเซล ในแบบ NTSC, 720x576 พิกเซล ในแบบ PAL. ภาพเคลื่อนไหวในวีซีดีอยู่ในรูปแบบ MPEG-1 และเสียงจะเข้ารหัสในรูปแบบ MPEG Layer 2 หรือ MP2 ภาพจะถูกบันทึกด้วยความเร็วบิตเรท 1150 กิโลบิต/วินาที ส่วนเสียงจะอยู่ที่ 224 กิโลบิต/วินาที ภาพทั้งหมดจะอยู่ในมาตรฐาน VHS
ความยาวในการบันทึกบนแผ่นวีคือ 74 นาที เท่ากับแผ่นซีดี
แฟลชไดรฟ์

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (อังกฤษ: USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 1 GB ถึง 256GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์

แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต

ชื่อเรียกอื่นของแฟลชไดรฟ์
ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่

คีย์ไดรฟ์ (key drive)
จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
ดาต้าคีย์ (data key)
ดาต้าสติ๊ก (data stick)
ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
ทัมบ์ไดรฟ์ (ThumbDrive) เครื่องหมายการค้าของ เทร็ค
ทัมบ์คีย์ (thumb key)
เพนไดรฟ์ (pen drive)
ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
แฟลชดิสก์ (flash disk)
เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
ยูเอสบีคีย์ (usb key)
แฮนดีไดรฟ์ (handy drive)

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

  กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

     มนุษย์สร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาโดยกำหนดการทำงานให้เหมือนกับการทำงานของมนุษย์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด

   1. พลังงานของคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้า  ซึ่งใช้แรงดัน
ไฟฟ้าต่างกัน  ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วง  เช่น ซีพียู ใช้แรงดันต่ำกว่า 3 โวลต์  แผงวงจรหลักใช้แรงดัน  5 โวลต์  และอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อน  เช่น ฮาร์ดดิสก์  พัดลม  ใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์   ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าในบ้านให้ลดต่ำลง  เรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power supply)   และยังช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อีกด้วย
   2. การรับรู้ คิด และโต้ตอบของคอมพิวเตอร์   คอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าได้หลายทางคล้ายมนุษย์  ข้อมูลที่รับเข้าจะถูกส่งไปที่ ซีพียู  เพื่อทำการประมวลผล   ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว
จะเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอคำสั่งให้นำออกมาใช้งานต่อไป
     3. หน่วยรับเข้า (Input Unit)   เป็นอุปกรณ์ในการนำข้อมูลคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์  ได้แก่  แผงแป้นอักขระ หรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) และเมาส์ (Mouse) 
v        แผงแป้นอักขระ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลทั้งตัวเลข  ตัวอักษร และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ  เข้าสู่คอมพิวเตอร์
v       เมาส์  (Mouse)  มีหน้าที่ในการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ  มีปุ่มสำหรับกดสั่งงานทำ
หน้าที่เหมือนกับกดปุ่ม Enter   
   4. การคิดของคอมพิวเตอร์  ข้อมูลที่รับเข้ามาจะส่งมาที่ซีพียู (CPU)   หรือหน่วยประมวลผลกลาง  ในซีพียูประกอบด้วยหน่วยควบคุม  หน่วยคำนวณ  และหน่วยความจำ
   5. หน่วยความจำหลัก    ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งไว้เพื่อรอการประมวลผล  ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะเก็บในหน่วยความจำหลัก   หน่วยความจำหลักมี  2  ชนิด คือ  หน่วยความจำแรม (RAM)  เป็นหน่วยความจำชั่วคราว  สามารถทำการแก้ไขข้อมูลเดิมได้  และหน่วยความจำรอม (ROM)  เป็นหน่วยความจำถาวร   ซึ่งผู้ผลิตจะบรรจุโปรแกรมลงไว้ ไม่สามารถแก้ไขได้
    6. หน่วยความจำสำรอง    เนื่องจากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกลบไปเมื่อเลิกใช้งาน  จึงต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลไว้ก่อน  เรียกว่าหน่วยความจำสำรอง  ได้แก่
      v      ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)  เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความจุข้อมูลสูงมาก  เก็บไว้

 
                         ในกล่องของเครื่อง  เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นบันทึกข้อมูล  แผ่นดิสก์ทำด้วยโลหะแข็ง
                          v      ฟลอปปีดิสเก็ต  (Floppy Diskette)  มีช่องอยู่ด้านหน้าของกล่องเครื่องสำหรับใส่
                         แผ่นดิสเก็ต  ตัวแผ่นเป็นพลาสติกบิดงอได้  จึงเรียกว่าฟลอปปี  ซึ่งแปลว่าบิดงอนั่นเอง
 แผ่นบันทึกข้อมูลหรือดิสเก็ต  เป็นทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกของคอมพิวเตอร์

 
ด้านล่างของแผ่นดิสเก็ตมีรูสี่เหลี่ยมข้างละรู  ที่รูด้านหนึ่งมีลิ้นปิด เปิดได้  ถ้าเปิดมองทะลุผ่านได้เป็นการป้องกันการบันทึกลงแผ่น  อ่านได้อย่างเดียว  ถ้าปิดรูไว้จะทำการบันทึกได้  เราจะเปิดการป้องกันการบันทึกเมื่อไม่ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูลทับเข้ามาในแผ่นหรือ เมื่อนำข้อมูลไปใช้กับเครื่องอื่นและไม่แน่ใจว่ามีไวรัสในเครื่องหรือไม่

         7. หน่วยแสดงผล   (Output Unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้วมาแสดงผลลัพธ์  ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ทางอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล  ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์



 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูล

  



 แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ    1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง

                    

 เครื่องอ่านรหัสแท่ง
 2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผล
เป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น
สถิติข้อมูล

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554